บทที่ 4 คำศัพท์ที่สำคัญ 5-7 นาทีในการอ่าน

ว้าว คุณมาถึงบทที่ 4 จนได้! นี่หมายความว่าคุณตั้งใจมากเลยทีเดียว ยอดมาก! เดี๋ยวเรามาดูคำศัพท์สำคัญ ๆ ที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องรู้ คำอธิบายด้านล่างนี้จะช่วยให้คุณสามารถจัดการเงินและความเสี่ยงของคุณเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากคำสั่งซื้อขายของคุณ

ล็อต (Lot)

ล็อตเป็นเพียงหน่วยของสินทรัพย์ที่คุณซื้อขาย ไม่ว่าจะเป็นคู่สกุลเงิน หุ้น หรือดัชนี

ในการซื้อขาย Forex หนึ่งล็อตสแตนดาร์ดจะเท่ากับ 100,000 หน่วยของสกุลเงินหลัก นั่นหมายความว่าหากคุณต้องการซื้อขาย EURUSD 1 ล็อต คุณจะต้องใช้เงินจำนวน 100,000 ยูโร นอกจากนี้ยังมีล็อตมินิ (10,000 หน่วย) และล็อตไมโคร (1,000 หน่วย) อีกด้วย

1.jpg

สำหรับหุ้น 1 ล็อต มักจะเท่ากับ 100 แต่สำหรับดัชนี มันจะเท่ากับ 10

คุณอาจจะจำได้จากบทเรียนก่อนหน้านี้ เมื่อคุณเปิดคำสั่งซื้อขาย คุณต้องเลือกปริมาณการซื้อขาย ‘1’ ซึ่งจะหมายถึง 1 ล็อต ตำแหน่งที่เล็กที่สุดที่คุณอาจเปิดได้คือ 0.01 ล็อต ซึ่งสำหรับคู่สกุลเงิน มันจะมีค่าเท่ากับประมาณ $1,000

"แล้วถ้าผมไม่อยากลงทุนทั้ง $1,000 ในคำสั่งซื้อขายเดียวล่ะ?"

ใจเย็น ๆ คุณไม่ต้องใช้เงินมากขนาดนั้นในการซื้อขายหรอก! พูดตามตรง คุณสามารถเริ่มทำการซื้อขายได้ด้วยเงินแค่ $5 เท่านั้น เพราะคุณสามารถใช้สิ่งที่เรียกว่า ‘เลเวอเรจ’ ได้ สำหรับตอนนี้ ขอให้เก็บข้อมูลนี้ไว้ในใจก่อน แล้วคุณจะเข้าใจทุกอย่างในภายหลัง

จุด (Point)

จุดจะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เล็กที่สุดที่สินทรัพย์สามารถทำได้ ตัวอย่างเช่น ราคาของ GBPUSD จะถูกกำหนดเป็น 1.26541 ซึ่งเป็นราคาที่มีทศนิยมห้าตำแหน่ง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน คู่สกุลเงินนี้ได้พุ่งขึ้นจาก 1.26541 ไปที่ 1.27832 กล่าวคือ มันได้พุ่งขึ้นไปถึง 1,289 จุด อีกตัวอย่างหนึ่ง ในวันที่ 12 มิถุนายน GBPUSD ได้ร่วงลงจาก 1.25696 ไปที่ 1.25053 ซึ่งได้ร่วงลงไปถึง 643 จุด

2.png

"ผมเคยซื้อขาย USDJPY และผมสังเกตเห็นว่าราคาของคู่สกุลเงินนี้มีทศนิยมแค่ 3 ตำแหน่ง เท่านั้นเอง จะอธิบายเรื่องนี้ว่าอย่างไรครับ?"

จริง ๆ แล้วราคาของคู่สกุลเงินที่จับคู่กับ JPY จะมีจุดทศนิยมสามตำแหน่ง ตัวอย่างเช่น ดอลลาร์สหรัฐ/เยนญี่ปุ่น ที่มีราคา 103.705 โดยตัวเลขทศนิยมตำแหน่งสุดท้ายของราคา/ใบเสนอราคาจะแสดงถึงจุด

3.png

"จะคำนวณมูลค่าของหนึ่งจุดได้อย่างไร?"

เป็นคำถามที่ดีนะ สมมติว่า คุณอยากซื้อขาย USDJPY และอัตราแลกเปลี่ยนของมันคือ 144.000

0.001 (จุด) / 144.000 (อัตราแลกเปลี่ยน) X 100,000 (ล็อตสแตนดาร์ด) = $0.694 ต่อจุด

"แล้ว EURUSD ล่ะ?"

อันที่จริง การคำนวณคู่ที่มี USD เป็นสกุลเงินอ้างอิง เช่น EURUSD นั้นง่ายกว่ามาก เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องพิจารณาอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน

0.00001 / 1 x 100,000 = $1 ต่อจุด

เลเวอเรจ (Leverage)

"โอเค ผมอยากเริ่มซื้อขายแล้วล่ะ แต่ผมมีเงินแค่ $10 เองนะ มันจะเป็นปัญหาไหม?"

ไม่เลยสักนิด! ก็อย่างที่เราได้บอกไปแล้วข้างต้น เงินฝากขั้นต่ำที่ FBS คือ $5 จริง ๆ แล้วเทรดเดอร์ต้องใช้เงิน $1,000 ในการเปิดคำสั่งซื้อขายในจำนวนหนึ่งล็อตไมโคร แต่ข่าวดีคือโบรกเกอร์มีทางออกให้กับคุณ ซึ่งก็คือเลเวอเรจไงล่ะ โบรกเกอร์จะให้เทรดเดอร์ยืมเงิน $995 โดยเทรดเดอร์จะใช้เงินของตัวเองเพียงแค่ $5 หากเลเวอเรจคือ 1:200 และเลเวอเรจสามารถปรับได้สูงถึง 1:3000 เลยนะ!

4.png

"ผมใช้เงินตัวเองแค่ $5 ส่วนอีก $995 ที่เหลือ โบรกเกอร์จะเป็นผู้จัดหาให้ จริงเหรอเนี่ย?"

จริงครับ! คุณไม่จำเป็นต้องลงทุนเงินทั้งหมดนี้ด้วยตัวเอง คุณสามารถยืมเงินจากโบรกเกอร์ของคุณได้

ใน FBS เลเวอเรจอาจแตกต่างกันไปตามประเภทบัญชีที่คุณมี คุณสามารถเข้าถึงมันได้ผ่าน Personal Area และทำการเปลี่ยนแปลงในการตั้งค่าบัญชี คุณต้องเลือกเลเวอเรจที่เหมาะกับทักษะของคุณ จำไว้ว่าเลเวอเรจอาจช่วยเพิ่มผลกำไรให้คุณได้ แต่หากตลาดไม่เป็นไปตามที่คุณคาดหวัง มันก็จะเพิ่มการสูญเสียของคุณได้เช่นกัน

หลักประกันหรือมาร์จิ้น (Margin)

ตอนนี้คุณรู้แล้วว่าเลเวอเรจคืออะไร หลักประกันก็จะเป็นเรื่องง่าย! ในการซื้อขายคู่สกุลเงิน หลักประกันคือผลรวมของเงินทุนที่เทรดเดอร์ต้องใช้เพื่อเปิดสถานะ

ในกรณีที่ใช้เลเวอเรจ 1:200 ในตัวอย่างข้างต้น หลักประกันที่เทรดเดอร์ต้องวางคือ $5

เงินที่คุณถืออยู่ในบัญชีซื้อขายของคุณคือเงินที่คุณสามารถใช้เป็นหลักประกันได้ มูลค่าของหลักประกันจะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนเลเวอเรจของเทรดเดอร์และขนาดของคำสั่งซื้อขาย

แพลตฟอร์มการซื้อขายของคุณจะแสดงตัวเลขหลักประกันที่เหลือ (Free Margin) (หรือหลักประกันที่ใช้ได้ (Usable Margin)) และระดับหลักประกัน (Margin Level) หลักประกันที่เหลือคือเงินที่คุณมีในบัญชีของคุณที่สามารถนำมาใช้เพื่อรักษาสถานะที่เปิดอยู่หรือเปิดสถานะใหม่ ระดับหลักประกันคืออัตราส่วนของเงินทุนของคุณต่อหลักประกันที่ใช้ไปแล้วของสถานะที่เปิดอยู่ของคุณ ซึ่งจะระบุเป็นเปอร์เซ็นต์

ในบัญชีที่ดี ระดับหลักประกันจะสูงกว่า 100% เสมอ

การเปลี่ยนสัญญาหรือโรลโอเวอร์ (Rollover)

การเปลี่ยนสัญญาหรือโรลโอเวอร์เป็นกระบวนการที่จะเกิดขึ้นในตอนที่สถานะถูกเปิดไว้ข้ามคืน และเมื่อมันเกิดขึ้น อัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินในคู่สกุลเงินจะถูกนำมาคำนวณเทียบกัน ซึ่งเทรดเดอร์อาจได้รับเงินหรือถูกเรียกเก็บเงินก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย

ค่าสวอป (Swap)

ยอดเงินที่เทรดเดอร์อาจได้รับหรือสูญเสียเนื่องจากการเปลี่ยนสัญญาจะถูกเรียกว่าค่าสวอป การเปลี่ยนสัญญาอาจส่งผลให้ได้รับค่าสวอปหรือต้องจ่ายค่าสวอป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จะเป็นผู้กำหนดอัตราดอกเบี้ย โดยปกติแล้ว อัตราดอกเบี้ยจะได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบได้ในปฏิทินเศรษฐกิจ

ค่าสวอปคืออัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินหนึ่งในคู่เงินลบด้วยอัตราดอกเบี้ยของอีกสกุลเงินหนึ่ง สกุลเงินใดที่คุณต้องนำมาหักออกจะขึ้นอยู่กับประเภทของสถานะที่คุณกำลังเปิด ได้แก่ Long (ซื้อ) หรือ Short (ขาย)

Swap Long และ Swap Short ในการซื้อขายคู่สกุลเงิน

สถานะ Long (หรือการเข้าซื้อ) คือตอนที่คุณเข้าซื้อสินทรัพย์โดยคาดหวังว่ามูลค่าของมันจะเพิ่มขึ้น

สถานะ Short (หรือการเข้าขาย) คือตอนที่คุณเข้าขายสินทรัพย์โดยคาดหวังว่ามูลค่าของมันจะลดลง

ดังนั้น หากคุณเปิดสถานะ Long บน EURUSD (ซื้อสกุลเงินยูโรและขายสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) อัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะถูกหักออกจากอัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินยูโร แต่ถ้าคุณเปิดสถานะ Short บน EURUSD อัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินยูโรจะถูกหักออกจากอัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

โชคดีที่คุณไม่จำเป็นต้องคำนวณค่าสวอปทุกครั้งที่คุณทำการซื้อขายด้วยตนเอง เพราะมีเครื่องมือพิเศษที่จะสิ่งนั้นให้คุณ คุณสามารถตรวจสอบค่าสวอปได้ในข้อกำหนดของตราสารการซื้อขายแต่ละรายการ

5.png
6.png

Stop Loss

คำสั่งพิเศษที่ใช้ปิดคำสั่งซื้อขายมีอยู่สองคำสั่งด้วยกัน ได้แก่ คำสั่ง Take Profit หรือ TP และคำสั่ง Stop Loss หรือ SL คำสั่งเหล่านี้ทำให้ผลการซื้อขายเป็นสิ่งที่คาดเดาได้มากขึ้น

7.png

Stop Loss คือคำสั่งปิดคำสั่งซื้อขายซึ่งจะถูกใช้เพื่อจำกัดจำนวนการสูญเสียที่เทรดเดอร์อาจได้รับจากคำสั่งซื้อขายหากตลาดสวนทางกับพวกเขา

เมื่อคุณเปิดคำสั่งซื้อขาย คุณควรลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น หากคุณกำลังจะเปิดคำสั่งซื้อขาย Buy ให้วาง Stop Loss ไว้ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน เพื่อที่ว่าหากราคาร่วงลง คำสั่ง Stop ของคุณจะปิดคำสั่งซื้อขายนั้นให้คุณโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้คุณสูญเสียมากขึ้น

8.png

การจัดการความเสี่ยงที่ประสบความสำเร็จหมายความว่าความสูญเสียถูกลดทอนลง Stop Loss อาจเป็นวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสำหรับเรื่องนั้น หากคุณตัดสินใจใช้คำสั่ง Stop Loss การค้นหาจุดวางที่ดีให้กับคำสั่งดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก วิธีที่ง่ายที่สุดคือการวาง SL ของคำสั่งซื้อขาย Buy ไว้ที่ระดับต่ำสุดก่อนหน้า

"โอเค ผมเข้าใจแล้ว ว่าแต่ทำไมผมต้องใช้ Take Profit ด้วยล่ะ?"

Take profit

สมมติว่าคุณคาดหวังว่าราคาจะสูงขึ้น และคุณต้องการเปิดคำสั่งซื้อขาย Buy หากคุณคาดการณ์ได้ถูกต้อง ราคาก็จะปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม มันจะไม่พุ่งขึ้นไปตลอดหรอก แต่จะกลับตัวลง ณ จุดใดจุดหนึ่ง นั่นเป็นเหตุผลที่คุณสามารถใช้ TP เพื่อปิดตำแหน่งของคุณก่อนที่ราคาจะกลับตัว

กล่าวอีกนัยหนึ่ง TP คือเป้าหมายกำไร คุณต้องวาง TP ที่ระดับที่คุณคาดหวังว่าราคาจะไปถึง (ซึ่งมักจะเป็นระดับสูงสุดก่อนหน้า) หากคุณเปิดคำสั่งซื้อขาย Buy ระดับ TP ก็จะอยู่สูงกว่าราคาปัจจุบัน แต่ถ้าคุณเปิดคำสั่งซื้อขาย Sell TP ก็จะอยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน แค่นั้นแหละ! ง่ายใช่ไหมล่ะ?

9.png

"ว้าว Stop Loss และ Take Profit มีประโยชน์มากเลยนะ! ผมจะใช้แน่นอน!"

สรุปบทเรียน

  • คู่สกุลเงินจะถูกซื้อขายเป็นล็อต หนึ่งล็อตสแตนดาร์ดใน Forex จะเท่ากับ 100,000 หน่วยของสกุลเงินหลัก หรือสกุลเงินของบัญชี

  • จุดจะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เล็กที่สุดที่ราคาสามารถทำได้

  • เทรดเดอร์สามารถใช้เลเวอเรจเพื่อเพิ่มจำนวนเงินที่จะใช้ในการซื้อขายได้

  • การจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมนั้นหมายถึงความสูญเสียควรถูกลดทอนลง ในขณะที่ผลกำไรถูกขยายขึ้น นั่นเป็นเหตุผลที่เทรดเดอร์ควรใช้คำสั่ง Take Profit และ Stop Loss

กำลังจะมา

ในบทเรียนถัดไป คุณจะสามารถใช้คำศัพท์ที่คุณเพิ่งเรียนรู้ไปในการทำความเข้าใจวิธีการคำนวณกำไรจากการซื้อขายได้

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ: